ชื่อ นาย กฤตเมธ สกุล รุิจิระยรรยง เลขที่ 1 ห้อง ม.5/10
กลุ่มที่ 10
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา ยาเสพติดในวัยรุ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นได้มีการใช้สารเสพติดกันอย่างแพร่หลาย แทบจะทุกเพศทุกวัยเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง ทำให้ปัญหายาเสพติดนี้ เป็นปัญหาอย่างมากในวัยรุ่น และในสังคม ซึ่งส่งผลต่อสภาพสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เสพ
ทางผู้จัดทำเล็งเห็นว่าปัญหายาเสพติดส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และปัญหาด้านความมั่งคงในประเทศซึ่งอาจนำไปถึงการก่ออาชญากรรม จึงได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อนำมาทำเป็นหนังสั้นนำเสนอสู่ชุมชน โดยนำเสนอสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมจากปัญหายาเสพติด เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติด และหวังว่าเมื่อผู้ที่เสพยาเสพติด หรือผู้ที่คิดจะลองได้มาศึกษาและติดตามแล้ว จะทำให้ผู้เสพ กลับตัวกลับใจเพื่อตัวผู้เสพเอง และเพื่อสังคมได้อีกด้วย
ดังนั้นผู้จัดทำจึงนำเสนอแนวคิดและปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้ทุกด้านมีส่วนร่วมช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างหนังสั้น
ผลการศึกษา (ให้เขียนตามวัตถุประสงค์ )
1.มีความรู้เรื่องปัญหายาเสพติด
2.ได้รับความรู้เรื่องการสร้างหนังสั้น
-เกี่ยวกับขั้นต้อนการเขียนบทภาพยนตร์
-ปัจจัยสำคัญของหนังสั้น
-ขนาดภาพ
-มุมกล้อง
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
-ก็ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
-ช่วยกันคิดช่วยกันตัดสินใจ
-ฟังคำเสนอแนะของเพื่อนทุกๆคน
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1.ได้พัฒนาทักษะการถ่ายหนังสั้น
2.รู้จักการทำงานเป็นทีม และ ความสามัคคี
3.ได้ความรู้เกี่ียวกับปัญญายาเสพติด
4.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
5.การมีน้ำใจช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
1.สถานการเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
สถานการเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
สถานการณ์เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดสารเสพติดมีดังนี้
1. สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติดได้แก่ อยู่ไหนแหล่งเสื่อมโทรมที่มีการใช้และซื้อขายสารเสพติด อยู่ในสังคมหรือชุมชนที่ใช้สารเสพติด อยู่ในครอบครัวที่มีการใช้สารเสพติดหรือครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด เป็นต้น
2.สถานที่เที่ยวกลางคืน สถานที่เหล่านี้มักมีสารเสพติดมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
3. ปัญหาส่วนตัวได้แก่คนที่ขาดความอบอุ่น มีปัญหาครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลหรืออาจเข้มงวดเกินไปจนทำให้ตนเองเกิดความเบื่อหน่าย หรือมีปัญหาส่วนตัวอื่นๆที่เป็นสาเหตุให้หาทางออกผิดๆด้วยการใช้สารเสพติด
4. ความอยากทดลอง นับเป็นพฤติกรรมที่ทำให้วัยรุ่นใช้สารเสพติด เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง ถ้ามีช่องทางหรือมีคนชักชวนก็อาจจะทดลองด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงนำไปสู่การติดสารเสพติด
5. การใกล้ชิดกับผู้ติดสารเสพติด การคบเพื่อนที่ใช้สารเสพติดทำให้เกิดการเลียนแบบ ต้องการให้เพื่อนยอมรับ มีค่านิยมทำตามถูกชักจูงได้ง่าย
6. การขาดความรู้ ผู้ที่ไม่มีความรู้มักจะถูกหลอกให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น หลอกให้ใช้หรือขายสารเสพติด
7. การประกอบอาชีพที่ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลานานๆ บุคคลเหล่านี้มักใช้ยาบ้าเพราะทำให้ไม่ง่วงนอน เมื่อใช้บ่อยก็จะเกิดการติดสารเสพติด
8. ความจำเป็นของร่างกาย บางคนอาจใช้สารเสพติดระงับหรือบรรเทาอาการปวดจากโรคที่ป่วย
9. ความต้องการฤทธิ์ที่พึงประสงค์ของสารเสพติด ผู้ที่ต้องการหาความสุขจากสารเสพติดบางชนิดเพื่อทำให้มีอารมณ์สนุก เช่น การดื่มสุรา เฮโรอีน เป็นต้น
10. การไม่ได้รับความสำคัญในครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าจากความสำเร็จในการเรียน เช่น ถ้าสอบได้ที่หนึ่งจะรู้สึกว่าเก่ง ถ้าทำไม่ได้ตามที่หวังจะทำให้หมดคุณค่าไป การให้คุณค่าเช่นนี้ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ยอมรับของครอบครัว ชีวิตไม่มีความสุข อาจนำไปสู่การติดสารเสพติดได้ นอกจากนี้การได้รับคุณค่าและปฏิบัติเป็นพิเศษทำให้รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ การได้รับการทะนุถนอม ตามใจ และปกป้องในบางครอบครัว ทำให้ขาดความไม่มั่นใจ ไม่มีความอดทน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สับสนขาดที่พึ่งก็อาจทำให้ไปพึ่งพายาเสพติดได้
2.บทลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย
บทลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย
เพื่อเป็นการป้องปรามผู้กระทำผิดหรือผู้ที่คิดจะกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ รัฐบาลจึงได้กำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระทำผิดที่พบ พอสรุปได้ดังนี้
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
(เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี ฯลฯ ) ผลิต นำเข้า หรือ ส่งออก บทลงโทษสูงสุดคือประหารชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 4 ปี – ตลอดชีวิต หรือปรับตั้งแต่ 80,000 บาท –5,000,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย บทลงโทษสูงสุดคือประหารชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 4 ปี - จำคุกตลอดชีวิต และ/หรือปรับตั้งแต่ 80,000 บาท – 5,000,000 บาท
เสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้าย หรือข่มขืนใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายครอบครอง เพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ โทษเป็น 2 เท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
( เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน ฯลฯ ) ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อย่างผิดกฎหมาย จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท – 5,000,000 บาท
จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอย่างผิด กฎหมาย จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - ตลอดชีวิต และ/หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 5,000,000 บาท
เสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือ ใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท – 1,000,000 บาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
( เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน ) ผลิต นำเข้า หรือ ส่งออก อย่างผิดกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 20 ปี และ/ หรือ ปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท
จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย อย่างผิดกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 5 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
(เช่น อาเซติลคลอไรด์ ฯลฯ) ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย อย่างผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท
ครอบครอง อย่างผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
(เช่น กัญชา กระท่อม ฯลฯ ) ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อย่างผิดกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท
จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอย่างผิด กฎหมาย จำคุกไม่เกิน 15 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
3.การแก้ไขปัญหายาเสพติด
การแก้ไขปัญหายาเสพติด
ดังที่กล่าวแล้วว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน การแก้ไขปัญหาจึงควรต้องดำเนินการพร้อมๆกันหลายวิธี ดังนี้
1. ป้องกัน การป้องกันอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่
- การสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา คือการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เช่น โทษและอันตรายของยาเสพติด รูปลักษณะของยาเสพติด การป้องกันตนเองให้พ้นจากยาเสพติด เป็นต้น
- การส่งเสริมสถาบันครอบครัว คือการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว ความรัก ความอบอุ่นและความเอาใจใส่ของคนในครอบครัวจะมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเสพยาเสพติดได้เป็นอย่างมาก และควรสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวหันไปสนใจในเรื่องกีฬาและออกกำลังกายในยามว่าง จะได้มีสุขภาพดี อารมณ์แจ่มใส และไม่ไปสนใจกับยาเสพติด
- การป้องกันมิให้มีการลักลอบผลิตและจำหน่ายยาเสพติด คือการควบคุมสารสำคัญและสารประกอบที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษอย่างเข้มงวด มีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง
2. ปราบปราม การปราบปรามผู้ที่ลักลอบผลิต นำเข้าและจำหน่ายยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การตั้งสินบนรางวัลนำจับแก่ผู้ให้เบาะแสและผู้จับกุมผู้กระทำผิด และมีการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง
3. บำบัดรักษา ผู้ที่เสพยาเสพติดที่ต้องการจะเลิกเสพยา ทางการแพทย์และทางราชการให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ป่วย สามารถเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลรักษาผู้ติดยาเสพติดทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจนหายแล้ว ก็จะสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และเป็นคนดีของสังคมต่อไป
4.ปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติด
การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย
ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น
การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา, สุขภาพจิต, อาชญากรรม, การเมือง, เศรษฐกิจและสังคม
1. ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด
สารใดก็ตามที่มีฤทธิ์แบบนี้ต่อผู้เสพ ย่อมทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งสิ้น คนที่ดื่มเหล้าก็ต้องการให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง (euphoria) ยาเสพติดชนิดร้ายแรงสามารถทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มมากกว่าปกติ ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "high" หรือพวกติดยาเสพติดในบ้านเราเรียกว่า "พี้" ในบรรดาสารเสพติดทั้งหลาย เฮโรอีนเป็นสารที่ทำให้เกิดฤทธิ์แบบนี้มากที่สุด เพราะเป็นสารที่ร้ายแรงที่สุดในกลุ่มสารที่ทำจากฝิ่น ในทางการแพทย์มีที่ใช้บ้างคือ ใช้มอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรืออาการปวดจากมะเร็งในระยะท้าย ๆ
ประสบการณ์ของผู้ติดยาเสพติดทั้งหลายต่างยอมรับว่า เฮโรอีน ให้ผลอันพึงประสงค์ ต่อผู้เสพ ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเฮโรอีนเกล็ดขาวบริสุทธิ์ที่มีขายในบ้านเรา แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาสูงมาก จนทำให้ผู้เสพหันไปใช้สารอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแอมเฟตามีนเป็นตัวที่ขายดีที่สุด สารพวกนี้มีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่า และอาการถอนยาไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด ทำให้ผู้ติดยาทั้งหลายไขว่คว้าหามาเสพ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็มิใช่ว่าจะไม่รู้โทษภัยของมัน แม้ว่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "ยาบ้า" หรือ "ยานรก" ก็ตามที เปรียบดังคนที่มัวเมาหลงใหลในกามรส เกิดอาการหน้ามืด จนไม่กลัวเอดส์ อย่างนั้น
5.วิธีเลิกยาเสพติด
วิธีเลิกยาเสพติด
วิธีการจัดการกับอาการอยากยา
พยายามควบคุมจิตใจตนเอง ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการอยากยา และต้องหลบเลี่ยงให้ได้ด้วยความอดทน
หากเริ่มมีอาการอยากยา ให้หยุดคิดทันที แล้วใช้การจินตนาการ นึกถึงเรื่องดี ๆ ที่ทำให้คุณมีความสุขแทนที่จะคิดถึงการใช้ยา
เปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือหันไปหางานอดิเรกอื่น ๆ ทำ เพื่อจะได้ใช้สมาธิกับงานนั้น จะได้ไม่คิดถึงยาอีก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ฟังเพลง เล่นดนตรี ดูโทรทัศน์ ฯลฯ
คล้องหนังยางไว้ที่แขน หากคิดถึงยาให้ดีดหนังยางแรง ๆ และบอกตัวเองว่า "ไม่" เพื่อจะได้เตือนตัวเอง และหยุดความคิดนั้น
สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ ให้จิตสงบ เพ่งสมาธิไปที่ลมหายใจเข้า-ออกของตัวเอง
โทรศัพท์หาคนที่ให้คำปรึกษาได้ คนที่เราไว้เนื้อเชื่อใจ ให้กำลังใจเราได้
ฝึกให้ตัวเองผ่อนคลาย ด้วยการสูดหายใจเข้าลึก ๆ ให้เต็มปอด จากนั้น หายใจออกช้า ๆ จนรู้สึกผ่อนคลาย
เมื่อเราไม่คิดถึงยาเสพติดได้แล้ว ก็จะช่วยให้สามารถเลิกยาได้ง่ายขึ้น แต่ถึงกระนั้น กว่าจะผ่านด่านนี้ หลายคนก็ต้องเผชิญอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากถอนยา ซึงในคนที่เพิ่งเสพยาใหม่ ๆ ก็อาจจะมีแค่อาการนอนหลับยาก กินเก่ง ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งผู้เสพสามารถเลิกไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอะไร
แต่หากเสพยามานานหน่อย ก็อาจมีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่มีแรง กระวนกระวาย กระสับกระสาย ปวดศีรษะ เหงื่อแตก และยิ่งในคนที่ติดยามานานมาก ๆ แล้ว อาจเกิดอาการทุรนทุราย เอะอะอาละวาด ทำร้ายผู้ที่อยู่ใกล้เคียง หรือบางคนมีอาการตรงข้าม คือกลายเป็นคนซึมเศร้า จนถึงฆ่าตัวตายได้เลย ซึ่งผู้ที่เลิกยาควรจะต้องมีคนคอยดูแลใกล้ชิด แต่หากผ่านไปได้ ก็จะมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น กระทั่งเลิกยาได้ระยะหนึ่งจึงจะปรับตัวได้
อย่างไรก็ตาม หากรายที่ใช้ยาเสพติดมานาน โดยเฉพาะแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จนมีอาการหนัก และมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนเรื้อรัง ก็จำเป็นเข้ารับการบำบัดในสถานบำบัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดความทรมานจากอาการขาดยาและจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งแพทย์จะประเมินอาการผู้ป่วยก่อนหาวิธีบำบัดที่เหมาะสมต่อไป โดยพิจารณาจาก
ชนิดของสารเสพติดที่ใช้
ปริมาณที่ใช้เป็นประจำ
ระยะเวลาที่เคยเสพยา
สารเสพติดอื่นที่ผู้ป่วยใช้ร่วมด้วย เช่น ผงขาว, แอลกอฮอล์, ยานอนหลับ หรือ สารระเหย เป็นต้น
ความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ ขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
ปัญหาพื้นฐาน, บุคลิกภาพ, ลักษณะของครอบครัว, สังคม, การศึกษาของผู้ป่วย เพื่อเป็นแนวทางในการให้การรักษาโดยรวมต่อไป
วิธีเลิกยาเสพติด
จากนั้น การรักษาจะใช้ 3 แนวทาง ดังนี้
1. Biological Treatment คือการรักษาโดยใช้ยา
เนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้ยาบ้ามักมีอาการเสพติดทางจิตใจมากกว่าทางร่างกาย การให้ยาจึงเป็นแบบการรักษาประคับประคองตามอาการ (Symptomatic Supportive Treatments)
อาการทางจิต ได้แก่ หวาดกลัว ประสาทหลอน หูแว่ว ให้ยากลุ่มต้านโรคจิต (Antipsychotics) และติดตามผลการรักษา
อาการวิตกกังวล, กระสับกระส่าย, หงุดหงิด, นอนไม่หลับ ให้ยากลุ่มกล่อมประสาท (Anxiolytics) และติดตามผลการรักษา
อาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย ให้ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และติดตามผลการรักษา
อาการมึนงง, วิงเวียนศีรษะ, ความรู้สึกไม่ปลอดโปร่ง ให้ยากลุ่มบำรุงประสาท เช่น วิตามิน B ยากลุ่มบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียน เลือดในสมอง เป็นต้น
นอกจากนี้ แพทย์จะให้ยาบำรุงร่างกาย หรือรักษาโรคทางร่างกายต่าง ๆ ที่พบในขณะรับการรักษา เพราะผู้ที่ใช้ยาเสพติดนาน ๆ เข้า มักจะมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนด้วย
2. Psychological Treatment ให้การรักษาทางด้านจิตใจ
หรือที่เรียกว่า จิตบำบัด (Psychotherapy) จะใช้แบบใดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่จะใช้แบบ Supportive Psychotherapy คือเน้นให้ผู้ป่วยมีความรับรู้ด้วยตนเองใน 3 ประการ คือ
อันตรายจากการใช้ยาบ้า
กิจกรรมทดแทน เมื่อเลิกเสพยาบ้า
เป้าหมายในอนาคตที่ผู้ป่วยหวังได้ ได้แก่ อาชีพ ฐานะการเงิน สถานะในสังคม การมีครอบครัว ฯลฯ
3. Social Treatment คือ การให้คนใกล้ตัวมีส่วนร่วมด้วย
หมายถึง ให้คนในครอบครัว และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น ที่ทำงาน ที่โรงเรียน เข้าใจอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ด้วย จะได้ดูแลได้อย่างถูกวิธี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เลิกยาเสพติดได้ผลก็คือ ผู้ป่วยต้อง "ตั้งใจ" และ "เต็มใจ" ที่จะเลิกยาให้ได้ และเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะหาก "ตั้งใจ" ก็จะมีแรงจูงใจให้สามารถเลิกยาได้ แต่หากผู้ป่วยไม่มีแรงจูงใจ หรือกำลังใจที่จะเลิก คนใกล้ชิดก็ต้องหาแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ว่าเป้าหมายของการเลิกยาคืออะไร จะได้เข้าสู่กระบวนการเลิกยาได้
เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว คนใกล้ตัวก็ต้องเอาใจใส่ผู้ป่วยต่อไป ทั้งในเรื่องของอาหารการกินที่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสุขภาพ และช่วยบำบัดจิตใจ ให้ความรัก ความใกล้ชิด ชักชวนไปทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ หรือหางานอดิเรกให้ทำ จะได้ไม่มีเวลาว่างจนเกินไป และที่สำคัญก็คือ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจบ้าง ให้จิตใจสงบ สบาย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้กลับไปใช้ยาเสพติดอีก
วิธีเลิกยาเสพติด สำหรับผู้ติดยาสามารถเข้ารับการบำบัดรักษาได้ที่
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนี (สถาบันธัญญารักษ์) โทรศัพท์ สายด่วน 1165
สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดบ้านพิชิตใจ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2354-4233 เว็บไซต์ office.bangkok.go.th
สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ แผนกรักษายาเสพติด 036-266292 หรือ เฟซบุ๊ก thamkrabokfanpage
ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิกยาเสพติดทุกแห่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
6.วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)